ราคาซื้อขายBitcoinทำจุดสูงสุดเมื่อวันที่17ธันวาคม2560 โดยมีราคาซื้อขายสูงถึง 19,939USD/BTC คิดเป็นMarket Capสูงกว่า333,933ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากคิดเป็นเงินไทยบิตคอยน์จะมีมูลค่าตลาดมากกว่า10ล้านล้านบาท!
แต่แท้จริงแล้วBitCoinมีมูลค่ามากขนาดนั้นจริงหรือ?
ขอต้อนรับท่านเข้าสู่บทความ ภาพลวงตาของMarket Cap:กรณีศึกษาBitCoin
เมื่อสินทรัพย์ใดก็ตามมีราคาซื้อขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายครั้งเรามักพบเห็นการรายงานมูลค่าตลาดหรือMarket Cap(Market capitalization)พ่วงมาด้วยเสมอ ดังเช่นรายงานจุดสูงสุดของราคาซื้อขายBitcoinที่ได้ยกมาให้ดูในข้างต้น
คำถามก็คือ แล้วMarket Capคืออะไร?
Market Capหรือมูลค่าตลาดสามารถคำนวณได้จากสูตร
Market Capitalization=ราคาXจำนวนสินทรัพย์ทั้งหมด
หากพูดให้ฟังง่ายๆMarket CapของBitCoinในวันที่17ธ.ค.2560 ก็มาจากราคาซื้อขาย19,939USD/1เหรียญBitcoin นำมาคูณกับจำนวนของเหรียญทั้งหมดของBitcoinที่มีอยู่ในระบบจำนวนคือจำนวนประมาณ16.7ล้านBitCoin(จำนวนเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นแล้วในระบบ ณ.ขณะนั้น)
เกร็ดความรู้ : ท่านที่ลงทุนในBitcoinคงทราบดี ถึงจำนวนสูงสุดของBitcoinที่เป็นไปได้คือ21ล้านBitcoin ไม่มีทางสูงกว่านี้ไปได้ เพราะผู้สร้างbitcoinได้ออกแบบระบบไว้เช่นนั้น
พิจารณากันอย่างละเอียด
จากสูตรการคำนวณMarket capที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ามีปัจจัยสองอย่างที่เกี่ยวข้องกันกับMarket Cap คือ
- ราคาซื้อขายของBitcoin
- จำนวนBitcoin
เนื่องจากจำนวนของBitcoinจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นเป็นอัตราที่ค่อนข้างคงที่(และจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นที่ลดลง ตามลักษณะเฉพาะที่ผู้ออกแบบBitcoinได้กำหนดไว้ ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้เอง)
ดังนั้นหากเราอนุมานให้จำนวนของBitcoinมีค่าคงที่ ก็จะเท่ากับว่า
Market Capจะแปรผันตรงกับราคาซื้อขายของBitcoinนั่นเอง
หรือจะพูดให้ง่ายก็คือ “Market Capก็คือราคาที่ถูกแปลงหน่วยแล้ว” นั่นเอง
ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวนี้ เป็นความจริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสินทรัพย์การเงินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล อสังหา หรือ ตราสารทางการเงินประเภทอื่นๆทุกประเภท
“Market Cap=ราคาแบบแปลงหน่วย”
แล้วสิ่งที่เราพูดมาจะสื่ออะไร?
ภาพลวงตาที่1:
Market Cap 10ล้านล้านบาท ไม่ได้หมายความว่ามีเงินลงทุนอยู่ในBitcoinจำนวน10ล้านล้านบาท
นักลงทุนมือใหม่หรือนักเก็งกำไรสมัครเล่นหลายท่าน มักจะสับสนระหว่างMarket Cap กับจำนวนเงินที่ถูกนำมาลงทุนในสินทรัพย์จริงๆ หากสังเกตุให้ดีจะพบว่า
ภาพลวงตาที่2:
Market Capสามารถสร้างตัวเลขลวงตาได้ง่ายมาก
Market Capสามารถสร้างตัวเลขลวงตาได้ง่ายมากโดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมาย ในที่นี้ผมจะลองสมมติเหตุการณ์ว่า ผมต้องการสร้างตัวเลขMarket Capเพื่อหวังผลในเชิงจิตวิทยากับผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาด โดยมีเงื่อนไขต่างๆดังนี้
- หากหุ้นXYZ มีจำนวนหุ้นทั้งหมด1,000ล้านหุ้น
- ทำการซื้อหุ้นXYZจำนวน100หุ้น ที่ราคา1,000บาท/หุ้น ใช้เงินทั้งหมด100,000บาท
- Market Capของหุ้นXYZจะกลายเป็น 1000×1000ล้าน=1ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่าด้วยเงื่อนไขดังกล่าวสามารถสร้างMarket Capเทียมให้เกิดขึ้นได้ โดยใช้เงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กรณีนี้หากให้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมก็เช่น Market CapของบริษัทStart upที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนก่อให้เกิดคำเรียกติดปากว่าUnicorn(หรือบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงกว่า1พันล้านเหรียญสหรัฐ) หลายครั้งจะพบว่าการเพิ่มทุนหรือเข้าซื้อหุ้นที่เกิดขึ้น คิดเป็นสัดส่วนหุ้นในจำนวนที่น้อยมาก แต่ทำให้Market Capเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล
ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่าสินทรัพย์การเงินที่มีMarket Capสูงทุกตัวจะเกิดจากการ”Manipulation” ตรงข้ามสินทรัพย์ส่วนใหญ่ที่มีMarket Capสูงได้ต่อเนื่องในระยะเวลายาวนาน ย่อมมีคุณค่าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่นักลงทุนเองต้องตระหนักว่า
เมื่อนักลงทุนหน้าใหม่ หรือ”แมงเม่าฝึกหัด” ไม่ได้เข้าใจในที่มาของตัวเลขต่างๆอย่างถ่องแท้ ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายจากการลงทุนได้อย่างรุนแรง
แล้วMarket Capใช้งานจริงได้หรือไม่
จริงๆแล้วMarket Capสามารถนำมาใช้งานในการวิเคราะห์สินทรัพย์ทางการเงินประเภทต่างๆได้จริง แต่ต้องถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม โดยผู้ใช้จะต้องมีความเข้าใจในที่มาและสมมติฐานต่างๆอย่างชัดเจน เช่น การนำมาคำนวณเพื่อหามูลค่าในการเข้าTake overกิจการต่างๆ หากมีโอกาสจะนำมาเล่าต่อในลำดับถัดไป
สรุป
เมื่อสินทรัพย์ใดมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามักจะพบเห็นการรายงานราคาซื้อขายร่วมกับมูลค่าMarket Capitalizationพ่วงมาด้วยเสมอ แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าการรายงานดังกล่าว หลายครั้งมีเจตนาที่แอบแฝงเพื่อหวังผลทางจิตวิทยาให้เกิดขึ้น นักลงทุนทุกท่านจึงควรศึกษาถึงที่มาของตัวเลขต่างๆให้ดีเสียก่อน
ทั้งนี้สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ ไม่ได้ต้องการชี้นำว่าอนาคตของBitcoinจะเป็นอย่างไร เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นว่าในโลกการเงินนั้นหลายครั้งก็มีความซับซ้อนมากกว่าที่คิด การศึกษาให้เข้าใจในประเด็นต่างๆอย่างถ่องแท้ ย่อมทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผล
Risk comes from not knowing what you’re doing. – Warren Buffett
ความเสี่ยงเกิดจากการลงมือทำในสิ่งที่เราไม่รู้ – วอเร็น บัฟเฟต์
แหล่งข้อมูล:
- https://coinmarketcap.com/currencies/bitcoin/
- https://blockchain.info/charts/total-bitcoins
ที่มาภาพ
- http://www.phaelosopher.com/2017/05/16/bitcoin-emergence-new-money/
บทความโดย :
กษิดิศ ตั้งสวัสดิรัตน์, AFPT™
Founder & Head of investment strategy
(บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกใน Allfinn.net เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561)