การลงทุน ประกันควบการลงทุน ประกันชีวิต/สุขภาพ ประกันวินาศภัย
กองทุนรวม Unit-linked CI Supercare ประกันรถยนต์
Health-linked
หน้าแรก
รู้จักเรา
บริการของเรา
บทความ
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ

ค่าใช้จ่าย

หัวข้อ :

ค่าใช้จ่ายทางภาษี คือ รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการได้มาซึ่งรายได้ เช่น พนักงานเงินเดือนย่อมมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเดินทางไปทำงาน โดยกฎหมายได้กำหนดประเภทของค่าใช้จ่ายไว้ตามประเภทของรายได้ ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็สามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งประเภทของการหักค่าใช้จ่ายออกเป็น2แบบ กล่าวคือ

1.การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานในการหักค่าใช้จ่าย เช่น การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือน

2.การหักค่าใช้จ่ายแบบตามจริง โดยมากแล้วกฎหมายจะกำหนดอัตราหักค่าใช้จ่ายแบบเหมามาให้ด้วย หากผู้มีรายได้ต้องการหักค่าใช้จ่ายมากกว่าอัตราเหมาที่กฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้ โดยต้องมีหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายแนบไปด้วยเสมอ เช่น การหักค่าใช้จ่ายสำหรับการรับเหมา หรือ การหักค่าใช้จ่ายสำหรับแพทย์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่าย จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น รายการค่าใช้จ่ายบางประเภท หากกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ก็ไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

สรุปค่าใช้จ่าย

  ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย หมายเหตุ
1 เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% อัตราเหมาสูงสุดไม่เกิน100,000บาท
2 ค่านายหน้า ค่าจ้างตามผลงาน 50% อัตราเหมาสูงสุดไม่เกิน100,000บาท
3 ค่าลิขสิทธิ์ และ
ทรัพย์สินทางปัญญา
50% อัตราเหมาสูงสุดไม่เกิน100,000บาท
4 ดอกเบี้ย เงินปันผล - หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
5 ค่าเช่า
-บ้าน อาคาร ตึก สิ่งปลูกสร้าง แพ 30% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา30%
-ที่ดินที่ใช้ในการเกษตร 20% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา20%
- ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร 15% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา15%
-ยานพาหนะ 30% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา30%
-อื่นๆ 10% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา10%
6 รายได้จากวิชาชีพอิสระ
-ประกอบโรคศิลปะ 60% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา60%
-กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
บัญชี ประณีตศิลปกรรม
30% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา30%
7 รับเหมาก่อสร้าง 60% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา60%
8 รายได้อื่นๆ 40-60% หักค่าใช้จ่ายตามจริง หรืออัตราเหมา40-60%

แหล่งที่มา : กรมสรรพากร, มาตรา 42 ทวิ ประมวลรัษฎากร, มาตรา 43 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 44 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 45 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 46 ประมวลรัษฎากร, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502, พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 634) พ.ศ. 2560