หน้าแรก
รู้จักเรา
บทความ
ติดต่อเรา

วิธีการยื่นภาษีออนไลน์

04 กุมภาพันธ์ 2563, 18.00น   1,333 views

เข้าสู่เทศกาลการยื่นภาษีประจำปีภาษี2562 ซึ่งทางกรมสรรพากรกำหนดช่วงเวลาให้ผู้มีรายได้จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงภาษีภายในช่วงวันที่ 1มกราคม2563 - 30มิถุนายน2563

โดยหากท่านได้มีการเตรียมการวางแผนภาษีในรอบปีที่แล้ว ซึ่งหมายถึงสิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อนประเภทต่างๆ ทางAllfinnแนะนำให้ท่านรีบยื่นแบบแสดงภาษีโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับเงินคืนภาษีอย่างรวดเร็ว

Allfinnจึงขอแนะนำขั้นตอนในการยื่นแบบแสดงภาษีออนไลน์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตแบบง่ายๆ10ขั้นตอน ซึ่งทุกท่านสามารถทำได้ด้วยตนเอง ทั้งสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง

โดยก่อนที่จะยื่นแบบแสดงภาษีรายได้ มีข้อควรรู้ดังต่อไปนี้

ภ.ง.ด.90 แตกต่าง จาก ภ.ง.ด.91 อย่างไร

หากให้สรุปง่ายๆ Allfinnขอสรุปสั้นๆว่า

  • ภ.ง.ด.91 สำหรับคนที่มีรายได้จาก "เงินเดือนประจำ" เป็นรายได้ทางเดียว
  • ภ.ง.ด.90 สำหรับคนที่มีรายได้จากทางอื่นร่วมด้วย

ซึ่งท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากบทความ "เงินได้พึงประเมิน"

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี

เมื่อเอกสารพร้อมแล้วก็มาเตรียมยื่นภาษีกันได้เลยครับ

ขั้นตอนที่1 : หน้าแรก

  • เข้าสู่เว็บไซด์กรมสรรพากรได้ที่ https://epit.rd.go.th/publish/index.php?tax=9091
  • หากยังไม่เคยยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ ให้เลือก "ลงทะเบียน"ก่อน
  • หากเคยลงทะเบียนแล้ว ให้เลือก "ยืนแบบฯ ภ.ง.ด.90/91" เพื่อเข้าสู่ระบบยื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนที่2 : การลงทะเบียน

  • ในกรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน เมื่อเข้าสู่หน้าจอ "ลงทะเบียนยื่นแบบ ภงด90/91/94 ทางอินเตอร์เน็ต"
  • กรอกข้อส่วนตัวตามแบบฟอร์ม โดยจะต้องใช้ข้อมูลเลขหลังบัตรประชาชนด้วย

ขั้นตอนที่3 : เข้าสู่ระบบยื่นภาษีออนไลน์

  • Loginเข้าสู่ระบบโดยกรอก Username และ Password จากนั้นจึงกด "ตกลง" เพื่อเข้าสู่ระบบยื่นภาษีออนไลน์
  • ในกรณีที่เคยลงทะเบียนแล้ว แต่จำรหัสผ่านไม่ได้ ให้คลิ๊ก "ลืมรหัสผ่าน"

ขั้นตอนที่4 : ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ก่อนยื่นแบบภาษีเงินได้

  • เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของระบบยื่นภาษีออนไลน์ ในหน้าแรกจะให้เราตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจะถูกดึงข้อมูลมาจากตอนที่เราลงทะเบียน ผู้ยื่นภาษีควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องอย่างละเอียดถี่ถ้วน
    • หากข้อมูลถูกต้อง ให้คลิ๊ก"ทำรายการต่อไป"
    • หากชื่อ-นามสกุลไม่ถูกต้องให้เลือก "เปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล" ผู้มีเงินได้
    • หากที่อยู่ไม่ถูกต้องให้เลือก "แก้ไขที่อยู่"

ขั้นตอนที่ 5 : หน้าหลัก

  • ให้ดูที่หัวข้อ "สถานภาพผู้มีเงินได้" ซึ่งอยู่ด้านล่างมุมซ้าย โดยให้เลือกสถานภาพของท่าน เช่น โสด หรือสมรส
  • กรณีที่มีคู่สมรส ต้องกรอกข้อมูลของคู่สมรส ทางฝั่งขวามือด้วย
  • จากนั้นให้คลิ๊ก "ขั้นตอนต่อไป"

ขั้นตอนที่ 6 : เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน และ ค่าลดหย่อนที่ท่านได้รับสิทธิ์

  • หมวดซ้ายมือ "เลือกรายการเงินได้พึงประเมิน"
    • หมวดนี้จะให้เราเลือกประเภทรายได้จากแหล่งที่มีของรายได้ โดยให้ติ๊กที่ประเภทรายได้ของท่าน ตามแหล่งที่มาของรายได้
    • โดยหากท่านไม่ทราบว่ารายได้ของท่านจัดอยู่ในหมวดใด สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก บทความ"เงินได้พึงประเมิน" หรือสามารถคลิ๊กที่เครื่องหมาย "?" ที่อยู่หลังประเภทรายได้ ซึ่งจะชี้แจงประเภทรายได้คร่าวๆ
  • หมวดขวามือ "เลือกเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น/ค่าลดหย่อน"
    • หมวดนี้จะให้เราเลือกสิทธิค่าลดหย่อน ที่ท่านได้รับสิทธิ์ ซึ่งความหมายของค่าลดหย่อน หมายถึงสิทธิ์ต่างๆที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพื่อให้ท่านสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาระภาษีได้
    • โดยหากท่านไม่ทราบว่าท่านได้รับสิทธิ์ลดหย่อนในข้อใดบ้าง สามารถศึกษารายละเอียดได้จาก บทความ"ค่าลดหย่อน" หรือสามารถคลิ๊กที่เครื่องหมาย "?" ที่อยู่หลังประเภทค่าลดหย่อน ซึ่งจะชี้แจงประเภทรายได้คร่าวๆ
  • เมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก "ทำรายการต่อไป"

ขั้นตอนที่ 7 : กรอกข้อมูลรายได้

  • เมื่อเข้าสู่หน้าจอ "บันทึกรายได้"
    • ให้ระบุรายได้ โดยหากท่านมีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือน ท่านสามารถกรอกตามแบบฟอร์ม 50ทวิ ได้ทันที
    • ในส่วนของเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ในแบบ50ทวิ จะแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรมาแล้ว ท่านสามารถกรอกตามได้ทันที
  • ให้ระบุรายได้ให้ครบทุกประเภท โดยคลิ๊กที่แท๊บ "เงินได้40(X)" ทางด้านบน
  • เมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก "ทำรายการต่อไป"

ขั้นตอนที่ 8 : บันทึกรายการลดหย่อน

ขั้นตอนที่ 9 : คำนวณภาษี

  • ระบบจะทำการคำนวณภาษีสุทธิที่ท่านต้องจ่าย โดยการคำนวณภาษีสามารถคำนวณได้จากสูตร
  • ซึ่งหลังจากที่ระบบคำนวณภาษีเรียบร้อยแล้ว จะทำการเปรียบเทียบกับภาษีที่ท่านได้ชำระไว้แล้ว
    • หากระบบแจ้งว่า "ชำระเพิ่มเติม" แสดงว่าเราต้องเสียภาษีเพิ่มเติม
    • หากระบบแจ้งว่า "ชำระไว้เกิน" แสดงว่าท่านจะได้รับภาษีคืนจากเงินภาษีที่ชำระไว้เกิน
  • โดยด้านล่างจะมีหัวข้อ"การแสดงเจตนาบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมืองของผู้มีเงินได้" หากท่านประสงค์จะบริจาคเงินให้พรรคการเมือง กรมสรรพากรจะทำการจัดสรรเงินเงินภาษีของท่านไปให้แก่พรรคการเมืองต่างๆที่ระบุ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มแต่อย่างไร
  • หากท่านได้สิทธิภาษีคืน อย่าลืมเลือก "มีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี" เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ภาษีคืนด้วยนะครับ
  • เมื่อทำรายการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อความดังข้างต้น เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการยื่นแบบแสดงภาษี

ข้อมูลจาก : กรมสรรพากร

หมวดหมู่ : Knowledge

บทความแนะนำ

แอดไลน์มาคุยกับเราได้นะ^^

 
แอดไลน์มาคุยกับเราได้ที่

Line : @allfinn