ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
เบี้ยประกันชีวิต
หัวข้อ :
เบี้ยประกันชีวิตสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยกฎหมายให้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดปีละไม่เกิน100,000บาท โดยต้องเป็นการทำประกันชีวิตเพื่อตนเอง(ตนเองเป็นผู้ได้รับความคุ้มครอง) เท่านั้น
กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรส และคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน10,000บาท เท่านั้น
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐานที่ต้องใช้
- ใบเสร็จหรือหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกัน
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการทำประกันชีวิตได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- ใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน100,000บาท
- กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรส และคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000บาท เท่านั้น
- กรมธรรม์ต้องมีอายุความคุ้มครองชีวิตขั้นต่ำ10ปี(อาจจะจ่ายเบี้ยแค่ครั้งเดียวก็ได้ แต่กรมธรรม์ต้องคุ้มครองชีวิต10ปีเป็นขั้นต่ำ)
- กรณีแบบประกันชีวิตมีการจ่ายเงินคืน หรือ เงินปันผล จะต้องไม่เกินกว่า20%ของเบี้ยประกันต่อปี
- ต้องทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
เงื่อนไขเพิ่มเติม
- กรณียกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบอายุ10ปี จะต้องถูกเรียกคืนสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่ได้ใช้ไปแล้ว พร้อมทั้งมีบทลงโทษในแง่ของเบี้ยปรับอีกด้วย
แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ง) ประมวลรัษฎากร