การลงทุน ประกันควบการลงทุน ประกันชีวิต/สุขภาพ ประกันวินาศภัย
กองทุนรวม Unit-linked CI Supercare ประกันรถยนต์
Health-linked
หน้าแรก
รู้จักเรา
บริการของเรา
บทความ
ติดต่อเรา
เข้าสู่ระบบ
ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
3.การออมและลงทุน
4.เงินบริจาค
5.รายการพิเศษ

ค่าลดหย่อนบุตร

หัวข้อ :

ค่าลดหย่อนบุตรเป็นค่าลดหย่อนแบบเหมา โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ30,000/ปี ไม่จำกัดจำนวนบุตรที่จะใช้สิทธิ

ในกรณีที่คุณมีบุตรคนที่สองเป็นต้นไป(เช่น บุตรคนที่สอง บุตรคนที่สาม ฯลฯ) ที่เกิดหลังจากปี พศ.2560 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่สองเป็นต้นไปได้เพิ่มขึ้นเป็น 60,000บาท/คน/ปี นอกจากนั้นยังสามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนฝากครรภ์-คลอดบุตรได้อีกด้วย

เงื่อนไข

การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับบุตรได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ

  • กรณีมีบุตรเกิดก่อนปี พศ.2561 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร(กรณีเป็นบุตรแท้ๆ)
  • กรณีมีบุตรคนที่สองเป็นต้นไป(เช่น บุตรคนที่สอง บุตรคนที่สาม ฯลฯ) ที่เกิดหลังจากปี พศ.2560 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้เพิ่มเป็นคนละ 60,000บาท
  • ผู้ยื่นภาษี หรือ บุตร ต้องอยู่ในประเทศไทยเกิน180วันในปีภาษีนั้น
  • บัตรของเราจะต้องเป็นลูกแท้ๆระหว่างเรากับคู่สมรส หรือ เป็นลูกบุญธรรมที่จะทะเบียนรับรองความเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว เท่านั้น
  • บุตรจะต้องมีอายุต่ำกว่า20ปี(หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือ อายุ20-25ปีและกำลังศึกษาระดับอนุปริญญา (ปวส.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป
  • บุตรจะต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ทั้งปีไม่เกิด30,000บาท เท่านั้น

เงื่อนไขเพิ่มเติม

  • กรณีท่านและคู่สมรสแยกยื่นภาษี สามารถใช้สิทธิบุตรคนเดียวกันลดหย่อนภาษีได้ทั้งท่านและคู่สมรส(เช่น มีบุตร2คน ท่านสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้2คน และคู่สมรสก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้2คนเช่นกัน)
  • ในกรณีที่เป็นบุตรแท้ๆ สามารถใช้สิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนคนตามจำนวนบุตรจริงของท่าน
  • ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรมสามารถใช้สิทธิได้สูงได้ไม่เกิน3คนเท่านั้น และเมื่อรวมกับบุตรจริงต้องไม่เกิน3คนด้วย เช่นหากมีบุตรแท้ๆ2คน จะสามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้อีกแค่คนเดียวเท่านั้น
  • กรณีบุตรถูกศาลสั่งให้ไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ สามารถใช้สิทธิได้โดยไม่จำกัดอายุของบุตร

แหล่งที่มา : แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ค) ประมวลรัษฎากร, พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2561, มาตรา 1547 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์