ค่าลดหย่อนภาษี
1.ทั่วไป▾
1.1ส่วนตัว
1.2คู่สมรส
1.3บุตร
1.4บิดามารดา
1.5ฝากครรภ์-คลอดบุตร
1.6อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ
1.7ดอกเบี้ยกู้ซื้อที่อยู่อาศัย
1.8ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2.ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ▾
2.1เงินสะสมประกันสังคม
2.2เบี้ยประกันชีวิต
2.3เบี้ยประกันสุขภาพ
2.4เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
2.5เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
3.การออมและลงทุน▾
3.1กองทุนรวมเพื่อการออม(SSF)
3.2กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)
3.3กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.4กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
3.5กองทุนการออมแห่งชาติ
3.6เงินลงทุนธุรกิจStartup
4.เงินบริจาค▾
4.1เงินบริจาคทั่วไป
4.2เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/โรงพยาบาลรัฐ/การกีฬา/การพัฒนาสังคม
4.3เงินบริจาคพรรคการเมือง
5.รายการพิเศษ▾
ดอกเบี้ยบ้าน
หัวข้อ :
ดอกเบี้ยบ้านหรือดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง โดยกฎหมายให้สิทธิลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน100,000บาท/ปี โดยจะเป็นการกู้เพื่อซื้อบ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด หรืออาคารพาณิชย์ก็ได้
สำหรับค่าลดหย่อนประเภทอื่นๆสามารถศึกษาได้ที่ค่าลดหย่อน
หลักฐานที่ต้องใช้
- สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน
- หนังสือรับรองหลักฐานการจ่ายดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยจากเจ้าหนี้จำนอง
เงื่อนไข
การที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับดอกเบี้ยการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้นั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ต่อไปนี้ครบทุกข้อ
- สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านได้ไม่เกิน 100,000บาท
- ผู้ยื่นภาษีต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้จริง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ,นายจ้างสั่งให้ไปประจำที่อื่น ฯลฯ
- ต้องนำบ้านไปจำนองเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมสำหรับการซื้อ หรือ สร้างบ้านนั้น(นับรวมถึงการรีไฟแนนซ์บ้านด้วย) โดยระยะเวลาการจำนองต้องเท่ากับระยะเวลาการกู้ยืมด้วย
- เจ้าหนี้ต้องเป็นสถาบันการเงิน หรือผู้ที่กฎหมายอนุญาติเท่านั้น เช่น ธนาคาร, นายจ้างที่มีกองทุนสวัสดิการให้กู้ซื้อบ้าน, กองทุน กบข. เป็นต้น
เงื่อนไขเพิ่มเติม
- กรณีมีการกู้ร่วม ให้ทำการหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ร่วม โดยไม่คำนึงว่าอีกคนจะใช้สิทธิหรือไม่ เช่น กู้ร่วม2คน ดอกเบี้ยปีละ90,000บาท แต่ละคนจะได้รับสิทธิ์ คนละ45,000บาท
- กรณีกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนที่ได้รับรวมกันจะต้องไม่เกิน 100,000บาท เช่นกู้ร่วม2คน ดอกเบี้ยปีละ150,000บาท แต่ละคนจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อน คนละ 50,000บาทเท่านั้น(100,000÷2)
แหล่งที่มา : มาตรา 47(1)(ซ) ประมวลรัษฎากร,ข้อ 2(52),(53), (59) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ข้อ 2(7) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165), ข้อ 2(7) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166), ข้อ 2(7) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 167)